A
Anonym
Gäst
มวยไทยเป็นการเล่นพื้นบ้าน ที่มีคุณลักษณะของการต่อสู้ป้องกันตัว ด้วยการใช้อวัยวะ
ในส่วนที่สามารถใช้ทำอันตรายคู่ต่อสู้ได้ มาใช้งานอย่างชาญฉลาด และมีศิลปอย่างสูง เช่น หมัด ศอกแขน เท้า แข้ง และเข่าเป็นต้น นับเป็นศิลปะประจำชาติ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นประการหนึ่งของคนไทย ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในหมู่ทหาร เพราะในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ต้องผจญกับศึกสงครามมาโดยตลอด จึงต้องฝึกฝนไว้ให้เชี่ยวชาญเพื่อใช้ในการต่อสู้ มีการจัดตั้งสำนักมวยขึ้นฝึกสอนกันโดยทั่วไป
การไหว้ครู
ในการแสดงศิลปวิทยาต่างๆ ย่อมมีครูบาอาจารย์เป็นผู้ประสิทธ์ประสาทวิชาการให้ เป็นประเพณีของชาวไทย ซึ่งอบรมสั่งสอนกันมา ในเรื่องความกตัญญูรู้คุณต่อท่านผู้มีพระคุณ เมื่อรู้คุณแล้วก็จะต้องมีกตเวที คือตอบแทนพระคุณในรูปแบบต่างๆ การไหว้ครูเป็นผลจากคุณธรรมดังกล่าวแล้ว
ดังนั้น มวยไทยซึ่งเป็นศิลปวิทยาแขนงหนึ่ง จึงอยู่ในกรอบประเพณีดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ต้องมีพิธีไหว้ครูก่อนทำการแข่งขัน สำหรับท่าไหว้ครูมีท่าถวายบังคมเป็นท่าเริ่มแรกนั้น กล่าวกันว่า ในสมัยก่อนการชกมวยไทยมักจะจัดขึ้นหน้าพระที่นั่ง พระมหากษัตริย์มักจะเสด็จออกทอดพระเนตร นักมวยที่จะเข้าแข่งขันเมื่อขึ้นสังเวียนแล้ว จึงต้องเริ่มด้วยการถวายบังคมด้วยลีลาท่าทางของนักมวย
การไหว้ครูมีท่ารำอยูหลายท่า ตามแต่ครูบาอาจารย์และเจ้าสำนักมวยต่างๆ จะประดิษฐ์คิดขึ้นมาเป็นแบบอย่าง เช่น ท่าเบญจางคประดิษฐท่าเทพพนมพรหมสี่หน้า ท่าสาวน้อยประแป้ง ท่าหนุมานตบยุง
คุณลักษณะของมวยไทย
มวยไทยใช้อวัยวะ 6 ชนิด ในการต่อสู้กับปรปักษ์ ได้แก่ หมัด ศอก แขนท่อนล่างเท้า แข้ง และเข่า เข้ากระทำกับคู่ต่อสู้ ด้วยการเข้าชก ต่อย เขก โขกทุบ เตะ ถีบ เหน็บ อัด ยัน เหยียบ เหวี่ยง ปัก ทิ่ม เฉือน กระทุ้ง สับ เสียบเฆี่ยน กด ทุ่ม ฟาด มัด รัด หักแขน หักขา หักคอ ฯลฯ อวัยวะแต่ละชนิดดังกล่าวมีวิธีใช้ดังนี้
1. หมัดใช้ทิ่มกระแทก กระทุ้ง ซึ่งมีทั้งกระทุ้งขึ้นและกระทุ้งลง เหวี่ยง ซึ่งมีซึ่งเหวี่ยงสั้นและเหวี่ยงยาวเขก โขก และทุบ
2. ศอกใช้เหวี่ยง ปัก งัด ทิ่ม เฉือน กด และกระทุ้ง
3. แขนท่อนล่าง ใช้สับ เสียบ ปัด เหวี่ยง และเฆี่ยน
4. เท้า ใช้ถีบ เหน็บ อัด คือการเตะด้วยปลายโต่ง ยัน เหยียบ เตะ และกระตุกเท้า
5. แข้งใช้เหวี่ยงซึ่งมีทั้งเหวี่ยงสั้นและเหวี่ยงยาว
6. เข่าใช้ยิงโยน ยัด เหวี่ยง กุด และกระตุก
ในส่วนที่สามารถใช้ทำอันตรายคู่ต่อสู้ได้ มาใช้งานอย่างชาญฉลาด และมีศิลปอย่างสูง เช่น หมัด ศอกแขน เท้า แข้ง และเข่าเป็นต้น นับเป็นศิลปะประจำชาติ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นประการหนึ่งของคนไทย ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในหมู่ทหาร เพราะในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ต้องผจญกับศึกสงครามมาโดยตลอด จึงต้องฝึกฝนไว้ให้เชี่ยวชาญเพื่อใช้ในการต่อสู้ มีการจัดตั้งสำนักมวยขึ้นฝึกสอนกันโดยทั่วไป
การไหว้ครู
ในการแสดงศิลปวิทยาต่างๆ ย่อมมีครูบาอาจารย์เป็นผู้ประสิทธ์ประสาทวิชาการให้ เป็นประเพณีของชาวไทย ซึ่งอบรมสั่งสอนกันมา ในเรื่องความกตัญญูรู้คุณต่อท่านผู้มีพระคุณ เมื่อรู้คุณแล้วก็จะต้องมีกตเวที คือตอบแทนพระคุณในรูปแบบต่างๆ การไหว้ครูเป็นผลจากคุณธรรมดังกล่าวแล้ว
ดังนั้น มวยไทยซึ่งเป็นศิลปวิทยาแขนงหนึ่ง จึงอยู่ในกรอบประเพณีดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ต้องมีพิธีไหว้ครูก่อนทำการแข่งขัน สำหรับท่าไหว้ครูมีท่าถวายบังคมเป็นท่าเริ่มแรกนั้น กล่าวกันว่า ในสมัยก่อนการชกมวยไทยมักจะจัดขึ้นหน้าพระที่นั่ง พระมหากษัตริย์มักจะเสด็จออกทอดพระเนตร นักมวยที่จะเข้าแข่งขันเมื่อขึ้นสังเวียนแล้ว จึงต้องเริ่มด้วยการถวายบังคมด้วยลีลาท่าทางของนักมวย
การไหว้ครูมีท่ารำอยูหลายท่า ตามแต่ครูบาอาจารย์และเจ้าสำนักมวยต่างๆ จะประดิษฐ์คิดขึ้นมาเป็นแบบอย่าง เช่น ท่าเบญจางคประดิษฐท่าเทพพนมพรหมสี่หน้า ท่าสาวน้อยประแป้ง ท่าหนุมานตบยุง
คุณลักษณะของมวยไทย
มวยไทยใช้อวัยวะ 6 ชนิด ในการต่อสู้กับปรปักษ์ ได้แก่ หมัด ศอก แขนท่อนล่างเท้า แข้ง และเข่า เข้ากระทำกับคู่ต่อสู้ ด้วยการเข้าชก ต่อย เขก โขกทุบ เตะ ถีบ เหน็บ อัด ยัน เหยียบ เหวี่ยง ปัก ทิ่ม เฉือน กระทุ้ง สับ เสียบเฆี่ยน กด ทุ่ม ฟาด มัด รัด หักแขน หักขา หักคอ ฯลฯ อวัยวะแต่ละชนิดดังกล่าวมีวิธีใช้ดังนี้
1. หมัดใช้ทิ่มกระแทก กระทุ้ง ซึ่งมีทั้งกระทุ้งขึ้นและกระทุ้งลง เหวี่ยง ซึ่งมีซึ่งเหวี่ยงสั้นและเหวี่ยงยาวเขก โขก และทุบ
2. ศอกใช้เหวี่ยง ปัก งัด ทิ่ม เฉือน กด และกระทุ้ง
3. แขนท่อนล่าง ใช้สับ เสียบ ปัด เหวี่ยง และเฆี่ยน
4. เท้า ใช้ถีบ เหน็บ อัด คือการเตะด้วยปลายโต่ง ยัน เหยียบ เตะ และกระตุกเท้า
5. แข้งใช้เหวี่ยงซึ่งมีทั้งเหวี่ยงสั้นและเหวี่ยงยาว
6. เข่าใช้ยิงโยน ยัด เหวี่ยง กุด และกระตุก